การต้องการส่งเสริมการออมทรัพย์ของคนในชุมชน และช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน ทั้งนี้มีเหตุปัจจัยมาจากภาระหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้น รายได้ของประชาชนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ขาดแคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพและเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน รวมทั้งความต้องการในการจัดการกับปัญหาด้วยตนเอง จึงเกิดการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิด ”สวัสดิการโดยชุมชนเพื่อคนในชุมชนเอง” เกิดชุมชนพึ่งพาตนเอง ที่สะท้อนความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มของระบบสวัสดิการและการเงินชุมชน 3 แหล่งเรียนรู้ ได้แก่
1) กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้านเกษตรเนินทราย
2) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านเขาบรเพ็ด และ
3) กลุ่มออมทรัพย์ อสม.บ้านวังหลุม กระบวนการ วิธีการดำเนินการของกลุ่มเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมทั้งจากการเห็นปัญหาร่วมกัน หาทางออกเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน การสร้างข้อตกลงร่วมกันเพื่อเป็นระเบียบปฏิบัติภายในกลุ่ม บริหารงานแบบพี่ แบบน้อง การให้ความช่วยเหลือจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก โดยมีลักษณะการทำงาน 2 ลักษณะ ได้แก่ การจัดการการเงิน มีการออมเงิน กู้ยืมเงิน ปันผลการส่งเสริมอาชีพ และการจัดสวัสดิการ เมื่อเสียชีวิต และเมื่อเจ็บป่วยโดยมีแกนนำองค์กรชุมชนร่วมกันดำเนินการ และมีองค์กรที่หนุนเสริมการทำงานได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) พัฒนาชุมชน และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ทำให้เกิดผลผลิตผลลัพธ์ ได้แก่ เสริมสร้างอาชีพและรายได้ เกิดความมั่นคงทางการเงิน เกิดแกนนำคนรุ่นใหม่ และ เรื่องเดือดร้อนได้รับการแก้ไข โดยมีส่วนประกอบด้วย ๓ แหล่งเรียนรู้ ดังนี้
๑. กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้านเกษตรเนินทราย (ระดับหมู่บ้าน)
๒. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านเขาบอระเพ็ด (ระดับหมู่บ้าน)
๓. กลุ่มออมทรัพย์ อสม.บ้านวังหลุม (ระดับหมู่บ้าน)